Sunday, January 5, 2014

ตึก 55 ปี : ต้นหูกวาง





ตึก 55 ปี : ต้นหูกวาง




ความเชื่อ

ในความเชื่อของจีนใบหูกวางแสดงถึงความมีบุญญาบารมีและวาสนา เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่อยู่ใน “ลก” คือ ความเจริญรุ่งเรือง จากอุดมคติแห่งความสุขในชีวิตชาวจีน “ฮก ลก ซิ่ว” นั่นเอง



นอกจากนั้น ต้นหูกวางผลสี่เหลี่ยมถือเป็นเอกลักณ์อย่างหนึ่งของหมู่เกาะเจื่องซาและหว่างซา ประเทศเวียดนามอีกด้วย



ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia catappa L.

ชื่อสามัญ: Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond, Singapore Almond, Tropical Almond, Olive-Bark Tree, Umbrella Tree
ชื่ออื่น: โคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู - นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี )
วงศ์: COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8–28 ม. เปลือกเรียบ เรือนยอดแผ่กว้างในแนวราบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร
ใบ ใบเรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเดี่ยวรูปไข่กลับ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-25 ซม. โคนใบสอบแคบเว้า มีต่อม 1 คู่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ เนื้อใบหนา เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
ดอก ดอกช่อออกตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล มีลักษณะเป็นแท่ง ยาว 8-12 ซม. มีดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10 อัน
ผล รูปรีค่อนข้างแบนทางด้านข้าง ยาว 3-7 ซม. ผลสีแดงเหลืองหรือเขียว เมื่อแห้งสีดำคล้ำ

การขยายพันธ์: ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม: ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ขึ้นตามหาดทราย และขึ้นได้ทั่วไป


ประโยชน์: เปลือกและผล มีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผล รับประทานได้ ให้น้ำมันคล้ายอัลมอนด์

ตึกคุณหญิงหรั่งฯ : ต้นลีลาวดี


ตึกคุณหญิงหรั่งฯ : ต้นลีลาวดี


ความเชื่อ

คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด

ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก



ลั่นทมเป็นต้นไม้สกุล Plumeriaมีถิ่นกำเหนิดในอเมริกาใต้ และถูกนำเข้ามาในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนโดยนักเดินเรือชาวเสปนหรือปอร์ตุเกส จึงไม่มีชื่อในภาษาไทย และไม่ปรากฏชื่อในวรรณกรรมโบราณ แหล่งที่มาของคำว่า ลั่นทม เข้าใจว่ามาจากภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า บูชา ทั้งนี้ ในสมัยโบราณต้นไม้ชนิดนี้นิยมปลูกในวัด จึงไม่นิยมปลูกในบ้าน


ข้อมูลทั่วไป

ลั่นทมเป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุลPlumeriaมีหลายชนิดด้วยกัน ประมาณ 7-8 ชนิด ได้แก่:

· Plumeria alba

· Plumeriainodora

· Plumeriaobtusa

· Plumeriapudica

· Plumeriarubra

· Plumeriastenopetala

· Plumeriastenophylla

สำหรับชื่อภาษาอังกกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Templetree)


ประวัติ
ลั่นทมเป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น "ลั่นทมขาว" เล่ากันว่าไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะนำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม"เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"

ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาวและพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบางสำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

ดอกลีลาวดี


ตึกเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา : ต้นสนประดิพัทธ์



ตึกเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา : ต้นสนประดิพัทธ์


ความเชื่อ

ปลูกต้นปาล์มหรือต้นสนข้างบ้านหรือหลังบ้านให้เป็นแถวและมีระเบียบ จะช่วยให้มีความสุขและเจริญรุ่งเรือง



ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์: Casuarina junghuhniana Miq

ชื่อสามัญ: Iron Wood Horsetail

ชื่ออื่น: -

วงศ์: CASUARINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยแหลม กิ่งขนาดเล้กทำมุมแหลมกับลำต้น และแตกกิ่งเป็นระเบียบ กิ่งย่อยสีเขียวเรียงกันเล็กมากคล้ายรูปเข็มหรือเส้นลวดต่อกันเป็นปล้อง ๆ

ต้น เปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยแหลม กิ่งขนาดเล็กทำมุมแหลม กับลำต้นและแตกกิ่งเป็นระเบียบ เปลือกสีน้ำตาลปนดำ

ใบ เป็นใบเดี่ยว มี 9-10 ใบ มีการจัดเรียงตัวเป็นช่อ รูปร่างคล้ายๆ เกล็ด ใบสีเขียว ปลายสีเหลือง ใบสามารถถอดเป็นปล้องได้

ดอก ต้นดอกตัวผู้และต้นดอกตัวเมีย ช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 3- 8 เซนติเมตร

ผล อยู่ในกลีบประดับย่อย

เมล็ด กลมเล็ก

การขยายพันธ์: ตอนกิ่ง การปักชำ

สภาพที่เหมาะสม: ชอบขึ้นในดินทรายใกล้ทะเลจนถึงภูเขาสูง 3,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล



ประโยชน์: ทำเป็นเสาเข็ม เสาบ้าน ฝาบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้ ทำอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ต้องการ ไม้ค้ำยัน ทำพื้น เสาโป๊ะ เสากระโดงเรือ ทำฟืนและถ่าน ไม้กระดาน ไม้ฝา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นแนวกันลม สามารถตัดแต่งเป็นรูปต่างๆ ได้

ตึกศิลปะ : ต้นเสลา




ตึกศิลปะ : ต้นเสลา



ความเชื่อ

ต้นเสลาเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดนครสวรรค์ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกล้าไม้มาให้เพื่อนำไปปลูกเป็นสิริมงคลในงานรณรงค์ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ ๕๐ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นองค์ประทานในงานนอกจากนั้น ยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก อีกด้วย


ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudoni Teijsm. & Binn.

วงศ์ LYTHRACEAE

ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชื่อพื้นเมือง เกรียบ ตะเกรีบ ตะแบกขน เสลา

ลักษณะทั้วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอด ทรงกลม หรือ ทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกนขอบขนาน เป็นไม้ประจำ จ.นครสวรรค์

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง โคนดอกเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดง กลีบดอกบางยับย่น ดอก ธันวา - มีนาคม

ผล กลมรี เปลือกแข็ง

ด้านภูมิทัศน์ ดอกสวยงาม ควรปลูกให้ร่มเงาในบ้านหรือ ในสวนเพราะเป็นไม้พุ่มใบห้อยย้อยลงสวยงาม


ประโยชน์ ใบบดกับกำยานใช้ทาผดผื่นคัน ผลใช้ทำไม้ประดับแห้ง



ตึก9 : ต้นสาละลังกา




ตึก9 : ต้นสาละลังกา


ตำนาน ต้นสาละลังกา

สาละ ชาวอินเดียเรียกว่า ซาล [Sal] เป็นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพาน

โดยที่พุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายา เมื่อใกล้กำหนดจะให้พระสูติการก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ ไปยัง กรุงเทวทหนคร ในระหว่างทางพระนางได้ทรงหยุดพักบริเวณสวนลุมพินีวัน ใต้ร่มต้นสาละ เขตตำบลลุมพินีสถาน ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ เป็นวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ยามนั้นอากาศโปร่ง ต้นไม้ในป่าสาละอุทยานลุมพินีกำลังผลิตดอกออกเบ่งบาน ส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ เป็นด้วยอำนาจบุญญาธิการของพระราชโอรส พระนางทรงเจ็บพระครรภ์ จึงได้ให้คนเตรียมพื้นที่ เพื่อประสูติพระโอรสอย่างกะทันหัน พระนางทรงยื่นพระหัตถ์เหนี่ยวกิ่งต้นสาละ และได้ทรงประสูติพระโอรสซึ่งมีพระวรกายผุดผ่อง อันสมบูรณ์ ด้วยลักษณะ แห่งมหาบุรุษ ที่ไม่มี บุรุษใด จะเทียบเทียมได้ พระโอรสนี้คือพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยบารมี

ครั้นยามสามของวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มเงาพระศรีมหาโพธิ ภายในป่า สาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ

ครั้น วันเพ็ญเดือน ๘ สองเดือนภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละอันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวันสุตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์



สำหรับในช่วงสุดท้ายที่ต้นสาละเข้าไปเกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัตินั้น เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จถึงสาลวโนทยานหรือสวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เป็นเวลาใกล้ค้ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช ได้ประทับในบริเวณสาลวโณทยาน ภายใต้ร่มต้นสาละคู่หนึ่ง ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายมาก จึงรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐากปูลาดที่บรรทมเอนพระวรกาย ลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยาคือเป็นการนอนครั้งสุดท้ายจนกระทั่งสังขารดับแล้วเสด็จดับขันธ์สู่ปรินิพพานภายใต้ต้นสาละนั่นเอง


                                               


ข้อมูลทั่วไป

สาละลังกาหรือลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Couroupitaguianensis
ลักษณะทางพฤษศาสตร์

สาละลังกาเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบเรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทาแตกเป็นร่องและสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่งรูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตรปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดงด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมากออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตรปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรงเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อนานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดงผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่
ประวัติ

ต้นสาละลังกา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิลและประเทศใกล้เคียงในปีพ.ศ. 2424สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าต้นลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโกต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกาแต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของต้นลูกปืนใหญ่ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดียและที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้าตัวงอเป็นตัว U นอนปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนานชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ

ต้นสาละลังกา หรือตันลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดียและต่างจากต้นสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าต้นสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย (Sal of India) และต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) หรือสาละลังกา (เรียกเฉพาะในไทย) แต่ด้วยความไม่รู้ความเป็นมาและชื่อเดิมชาวไทยจึงนิยมเรียกสาละอินเดียกับสาละลังกา


ตึก 1 : ต้นสัก



ตึก1 : ต้นสัก



ความเชือ ต้นสัก



ปลูกต้นสักไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีศักดิ์ศรี เพราะสักหรือศักดิ์ คือการมีศักดิ์ศรี มีเกียรติศักดิ์ยศถาบรรดาศักดิ์ นอกจากนี้ สัก หรือสักกะ คือ พระอินทร์ผู้มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในสวรรค์ ดังนั้น สักจึงเป็นไม้มงคลนาม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นสักไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ และเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ข้อมูลทั่วไป
สัก (ภาษาอังกฤษ: Teak)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectonagrandis

เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อนลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆเรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตกมีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือสักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิดชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
ประโยชน์
ต้นสักที่ใหญ่และมีอายุมากที่สุดในโลก

· ลำต้น : เป็นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ

· ใบ : เป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมนยาว 25 - 30 เซนติเมตร กว้างเกือบเท่ายาว ใบของต้นอ่อนจะใหญ่กว่า นี้มากผิวใบขนสากคายสีเขียวเข้ม ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด

· ดอก : มีขนาดเล็ก สีขาวนวลออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกและเป็นผลเดือน มิถุนายน - ตุลาคม




· ผล : เป็นผลแห้งค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ภายในมี 1 - 3 เมล็ด

ไม้สักเนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง และชักเงาได้ง่ายใช้ทำเครื่องเรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอดไม่ชอบทำลายเพระมีสารพวกเทคโทควิโนน (Tectoquinone)

ต้นสักที่ใหญ่และมีอายุมากที่สุดในโลกมีอายุมากกว่า 1,500 ปีได้รับชื่อพระราชทาน นามว่า มเหสักข์ อยู่ภายในวนอุทยานต้นสักใหญ่บ้านปางเกลือ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความสูง 47 เมตรลำต้นเส้นวงรอบ 10 เมตร 23 เซนติเมตร ใช้ 9 คนโอบโดยรอบ ขนาดความโต 1020 .7 เซนติเมตร ซึ่งเฉลี่ยโตขึ้นปีละ 1.3 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าใหญ่กว่าพม่าที่มีเส้นรอบวงเพียง 1 เมตร 30 เซนติเมตร

ตึก 60 ปี : ต้นตีนเป็ดฝรั่ง










ตึก 60 ปี : ต้นตีนเป็ดฝรั่ง




ความเชื่อ ต้นตีนเป็ดฝรั่ง หรือ พญาสัตตบรรณ
คำว่า "พญาสัตตบรรณ" มีความหมายมงคลแยกเป็น 3 คำ คือ 
คำว่า "พญา" หมายถึง ผู้มีอำนาจน่านับถือ น่ายกย่อง ผู้เป็นใหญ่
คำว่า "สัต" หรือ "สัตต" หมายถึง 7 (เจ็ด)
คำว่า "บรรณ" หมายถึง ใบไม้ หรือ หนังสือ

พญาสัตตบรรณเป็นต้นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่ รูปทรงสวยสง่า ดูมั่นคง และน่าเกรงขามดั่งพญา พุ่มใบเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ทั้งใบของต้นพญาสัตตบรรณยังออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมี 7 ใบเรียงรอบก้านใบ และดอกก็ยังออกเป็นกลุ่ม โดยช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 7 กลุ่มด้วย นอกจากนี้สัตตบรรณ หรือ ฉัตรบรรณ ยังมีความหมายถึงเครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น อาจมี 3, 5, 7 หรือ 9 ชั้น ใช้เป็นเครื่องประดับเกียรติยศใบขบวนแห่งานพระราชพิธีอีกด้วย

พญาสัตตบรรณจึงเป็นไม้มงคลนามอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลทางทิศเหนือของบ้าน คนโบราณเชื่อว่า
หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติ เป็นที่เคารพนับถือ และได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crescentia alata HBK.
ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae
ชื่อสามัญ : Cruz, Gourd tree, Mexican calabash, Morra, Tecomate
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
    ลักษณะ
เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้นๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่นๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น

ตึก3 : ต้นประดู่บ้าน





ตึก3 : ต้นประดู่บ้าน


ความเชื่อ ต้นประดู่บ้าน


ปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือและคนโบราณยังเชื่อว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาดนั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นประดู่ไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก












ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ต้นไม้ประจำจังหวัด ภูเก็ต
ชื่อพันธุ์ไม้ ประดู่บ้าน
ชื่อสามัญ Burmese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย (ภาคกลาง), สะโน (มลายู-นราธิวาส), ประดู่ไทย (ภาคกลาง), ประดู่กิ่งอ่อน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด มาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่าวเบงกอล


สรรพคุณ เนื้อไม้ ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล ใบอ่อนใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว แก้ผดผื่นคัน ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย
การใช้งาน เนื้อไม้นำไปใช้ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานสูง เนื้อไม้มีสีสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตบแต่งชักเงาได้ดี จากการเปรียบเทียมกับไม้สักที่ประเทศพม่าพบว่าไม้ประดู่มีความแข็ง (hardness) มากกว่าไม้สัก 2 เท่า และหนักกว่าร้อยละ 24 ค่าความแข็ง 925 กก.และมีความทนทานตามธรรมชาติ (การทดลองฝังดิน) เฉลี่ย 14 ปี ดังนั้นการใช้ไม้ประดู่ในการก่อสร้างจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนไม้ขนาดเล็กใช้ทำไม้ปาร์เก้ ไม้ประสานแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นไม้ชุบซีเมนต์ได้ฟืนและถ่านไม้ประดู่ให้ความร้อน 5,022 และ 7,539 แคลอรี่ต่อกรัมตามลำดับ เปลือกไม้ประดู่ใช้ย้อมผ้าได้และให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังแก่นให้สีดำคล้ำใช้ ย้อมผ้า


ประโยชน์ในเชิงอนุรักษ์ ประดู่เป็นไม้เรือนยอดกลมโต แข็งแรงจะช่วยป้องกันลมและคลุมดิน ให้ร่มเย็นชุ่มชื้นและรองรับน้ำฝนลดแรงปะทะหน้าดินน้อยลงประกอบกับระบบราก หยั่งลึกแผ่กว้าง เช่นเดียวกับเรือนยอด จะช่วยยึดดินไม้ให้พังทลายได้ง่ายและรากมีปมใหญ่ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมา เก็บไว้ในรูปไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย ใบหนาแน่นเมื่อร่วงหล่นผุพัง เพิ่มธาตุอาหารอินทรียวัตถุแก่ดินอย่างมาก




ตึก2 : ต้นจามจุรี




ตึก2 : ต้นจามจุรี

ตำนานต้นจามจุรี


"จามจุรี" เป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละโรงเรียนเตรียมอุดม มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ด้วยวัฏจักรของจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ มีสีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในช่วงเวลาภาคต้นของการศึกษาเสมือนนิสิตปีที่ 1ที่ยังคงเริงร่าสนุกสนานกับการเป็นน้องใหม่ และเมื่อเวลาผ่านไปในภาคปลายของการศึกษา ทั้งใบและฝักย้ำเตือนให้นิสิตเตรียม ตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นอาจจะต้องเรียนซ้ำชั้นหรือถูกไล่ออก


ด้วยจามจุรีเป็นไม้ที่สลัดใบและฝักในช่วงเวลาปลายปี ทำให้ถนนและคูข้างถนนในจุฬาฯสกปรกปัญหาของต้นจามจุรี คือ ปลูกขึ้นยาก ดูแลรักษายาก มีโรคพืช ทำให้กิ่งก้านหักหล่น ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ -๒๕๐๐ จำนวนต้นจามจุรีในมหาวิทยาลัยเริ่มลดน้อยลงอย่างมากมีคณะต่างๆ เกิดขึ้นเป็นเหตุให้ต้นจามจุรีถูกโค่นลงเพื่อสร้างตึกใหม่ และไม่มีนโยบายปลูกทดแทน จากการที่จามจุรีลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน


ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน ๕ ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน ๓ ต้น ด้านซ้ายจำนวน ๒ ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับต้นจามจุรี
จามจุรีหรือก้ามปูหรือฉำฉา (อังกฤษ: Rain tree; ชื่อวิทยาศาสตร์: Samaneasaman)
พืชในวงศ์ถั่ว (Leguminosae)
วงศ์ย่อยMinosoideae

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็กดอกสีชมพูมีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก, บราซิลและเปรูต่อมาได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, หมู่เกาะแปซิฟิกและฮาวาย


จามจุรีต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญโดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อนประเทศเวียดนามต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา



ดอกจามจุรี


จามจุรีป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยและเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดลำพูน

นอกจากก้ามปูและฉำฉาแล้ว จามจุรี ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆอีกตามแต่ละพื้นที่ ได้แก่ "ก้ามกราม" (กลาง), "ก้ามกุ้ง" (กทม.,อุตรดิตถ์), "ตุ๊ดตู่" (ตราด), "ลัง" (เหนือ), "สารสา" (เหนือ), "สำสา" (เหนือ) และ "เส่คุ่" (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น