Sunday, January 5, 2014

ตึก2 : ต้นจามจุรี




ตึก2 : ต้นจามจุรี

ตำนานต้นจามจุรี


"จามจุรี" เป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละโรงเรียนเตรียมอุดม มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ด้วยวัฏจักรของจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ มีสีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในช่วงเวลาภาคต้นของการศึกษาเสมือนนิสิตปีที่ 1ที่ยังคงเริงร่าสนุกสนานกับการเป็นน้องใหม่ และเมื่อเวลาผ่านไปในภาคปลายของการศึกษา ทั้งใบและฝักย้ำเตือนให้นิสิตเตรียม ตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นอาจจะต้องเรียนซ้ำชั้นหรือถูกไล่ออก


ด้วยจามจุรีเป็นไม้ที่สลัดใบและฝักในช่วงเวลาปลายปี ทำให้ถนนและคูข้างถนนในจุฬาฯสกปรกปัญหาของต้นจามจุรี คือ ปลูกขึ้นยาก ดูแลรักษายาก มีโรคพืช ทำให้กิ่งก้านหักหล่น ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ -๒๕๐๐ จำนวนต้นจามจุรีในมหาวิทยาลัยเริ่มลดน้อยลงอย่างมากมีคณะต่างๆ เกิดขึ้นเป็นเหตุให้ต้นจามจุรีถูกโค่นลงเพื่อสร้างตึกใหม่ และไม่มีนโยบายปลูกทดแทน จากการที่จามจุรีลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน


ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน ๕ ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน ๓ ต้น ด้านซ้ายจำนวน ๒ ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับต้นจามจุรี
จามจุรีหรือก้ามปูหรือฉำฉา (อังกฤษ: Rain tree; ชื่อวิทยาศาสตร์: Samaneasaman)
พืชในวงศ์ถั่ว (Leguminosae)
วงศ์ย่อยMinosoideae

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็กดอกสีชมพูมีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก, บราซิลและเปรูต่อมาได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, หมู่เกาะแปซิฟิกและฮาวาย


จามจุรีต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญโดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อนประเทศเวียดนามต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา



ดอกจามจุรี


จามจุรีป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยและเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดลำพูน

นอกจากก้ามปูและฉำฉาแล้ว จามจุรี ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆอีกตามแต่ละพื้นที่ ได้แก่ "ก้ามกราม" (กลาง), "ก้ามกุ้ง" (กทม.,อุตรดิตถ์), "ตุ๊ดตู่" (ตราด), "ลัง" (เหนือ), "สารสา" (เหนือ), "สำสา" (เหนือ) และ "เส่คุ่" (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น







No comments:

Post a Comment